วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
http://narin2010.igetweb.com/articles/512814/การสอน.html.
ได้รวบรวมเกี่ยวกับวิธีสอนแบบดัลตัน (The Dalton Labotatory
Plan) ไว้ว่า ผู้ริเริ่มวิธีสอนแบบนี้คือ เฮเลน พาร์ค เฮิรสต์ (Helen
Parkhurst) ได้ทำการทดลอง ครั้งแรกที่เมืองดัลตัน มลรัฐเมตสาจูเสตต์ สหรัฐอเมริกา
วิธีสอนแบบนี้ไม่มีการแบ่งชั้นเรียน และ ไม่จัดตารางสอนเป็นรายชั่วโมง แต่เป็นการจัดห้องแบบทดลอง (Laboratory) กำหนดวิชาตามหลักสูตรไว้ แต่ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนตามความสมัครใจและรับผิดชอบในการเรียนการสอนของตน
นักเรียนมีสิทธิเลือกเรียนวิชาใดก่อนหลัง
หรือนานเท่าใดก็ได้ แล้วแต่ความพอใจความสามารถเป็นการสอนที่ให้เสรีภาพ
และความรับผิดชอบแก่เด็กภายในขอบเขตเป็นการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลักสำคัญมีการจัดหาห้องสมุดและอุปกรณ์การสอนไว้อย่างครบถ้วน
เพื่อสะดวกให้การค้นคว้าและทำงานได้สำเร็จตามกำหนดเวลา
การสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักแบ่งและใช้เวลาโดยเหมาะสม โดยการจัดตารางสอนของตนเองภายใต้การแนะนำของครู ครูมักจะทำกราฟสถิติ แต่ละคนก้าวหน้าไปเพียงใด ถ้าในห้องมีเด็กทำงานหลายคนก็จะต้องแบ่งเป็นหมู่ ครูให้คำแนะนำเด็กเป็นรายบุคคลและมีการประชุมหมู่เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น การสอนแบบนี้สิ้นเปลืองมากเพราะจะมีห้องสมุดและอุปกรณ์การสอนแบบต่างๆ อย่างครบถ้วน
และต้องมีครูที่มีความรู้ความสามารถในการแนะแนวเด็กได้อย่างดีด้วย
การสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักแบ่งและใช้เวลาโดยเหมาะสม โดยการจัดตารางสอนของตนเองภายใต้การแนะนำของครู ครูมักจะทำกราฟสถิติ แต่ละคนก้าวหน้าไปเพียงใด ถ้าในห้องมีเด็กทำงานหลายคนก็จะต้องแบ่งเป็นหมู่ ครูให้คำแนะนำเด็กเป็นรายบุคคลและมีการประชุมหมู่เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น การสอนแบบนี้สิ้นเปลืองมากเพราะจะมีห้องสมุดและอุปกรณ์การสอนแบบต่างๆ อย่างครบถ้วน
และต้องมีครูที่มีความรู้ความสามารถในการแนะแนวเด็กได้อย่างดีด้วย
http://www.neric-club.com/data.php?page=21&menu_id=76. ได้รวบรวมเกี่ยวกับวิธีสอนแบบดัลตัน
(Dalton Laboratory Plan) ไว้ว่าเป็นวิธีสอนที่ไม่แบ่งชั้นเรียนและไม่จัดตารางสอนเป็นชั่วโมง แต่ใช้ห้องทดลอง (Laboratory)
ตามวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ทั้งนี้โดยให้โอกาสนักเรียนเลือกเรียนตามความสมัครใจและรับผิดชอบในการเรียนของตน
นักเรียนมีสิทธิเลือกเรียนวิชาใดก่อนหลังได้ตามความสนใจ ความถนัด ความสามารถ
เป็นการสอนที่ให้เสรีภาพกับนักเรียนภายในขอบเขต
การสอนที่ยึดหลักสำคัญที่ความแตกต่างระหว่างบุคคลห้องสมุดและอุปกรณ์การสอนจึงต้องเตรียมไว้อย่างเพียงพอสำหรับการศึกษาค้นคว้า
ข้อดีของการสอนแบบดัลตัน
1.เป็นการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแบ่งเวลาและใช้เวลาอย่างเหมาะสม
2.นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
มีการจัดตารางของตนเอง ภายใต้การแนะนำของครู
3.นักเรียนสามารถรู้ว่าการเรียนรู้มีความก้าวหน้าไปเพียงใด
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบดัลตัน
ครูผู้สอนวิธีนี้ต้องมีความรู้ความสามารถในการแนะแนวนักเรียนได้อย่างดีด้วย
https://en.wikipedia.org/wiki/Dalton_Plan. ได้รวบรวม วิธีการสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan) ไว้ว่า ผู้ริเริ่มวิธีสอนแบบนี้คือ เฮเลน พาร์ค เฮิรสต์ วัตถุประสงค์เฉพาะของเฮิรสต์มีดังนี้
1.
เพื่อปรับให้นักเรียนแต่ละคนเหมาะสมตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถ
2.
เพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของนักเรียนแต่ละคนและความน่าเชื่อถือ
3.
เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักเรียนในการเข้าสังคม
4.
เพื่อเพิ่มความรู้สึกของนักเรียนให้มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น
บ้าน ชุมชน และสังคมของนักเรียน
กำหนดเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา
1 เดือน ใช้ห้องทดลอง (Laboratory)
ตามวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
โดยความตั้งใจที่จะให้เป็นศูนย์กลางของประสบการณ์การศึกษา ซึ่งจะใช้ห้องทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
นักเรียนมีการสลับเปลี่ยนระหว่างห้องทดลองกับห้องเรียนและสำรวจดูความก้าวหน้าของตนเอง
สรุปวิธีการสอนแบบดัลตัน
วิธีการสอนแบบดัลตันเป็นวิธีที่ไม่มีการแบ่งชั้นเรียน
และไม่จัดตารางสอนเป็นรายชั่วโมง แต่เป็นการจัดห้องแบบทดลอง
กำหนดวิชาตามหลักสูตรไว้
ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนตามความสมัครใจและรับผิดชอบในการเรียนการสอนของตน
นักเรียนมีสิทธิเลือกเรียนวิชาใดก่อนหลังหรือนานเท่าใดก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ
ความสามารถ เป็นการสอนที่ให้เสรีภาพและความรับผิดชอบ
เด็กภายในขอบเขตเป็นการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลักสำคัญ
มีการจัดหาห้องสมุดและอุปกรณ์การสอนไว้อย่างครบถ้วน
เพื่อสะดวกให้การค้นคว้าและทำงานได้สำเร็จตามกำหนดเวลา
ข้อดีของการสอนแบบดัลตัน
1.
เป็นการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแบ่งเวลาและใช้เวลาอย่างเหมาะสม
2.
นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีการจัดตารางของตนเอง ภายใต้การแนะนำของครู
3.
ครูมักจะทำกราฟสถิติ แต่ละคนก้าวหน้าไปเพียงใด ถ้าในห้องมีเด็กทำงานหลายคนก็จะต้องแบ่งเป็นหมู่
ข้อเสียของการสอนแบบดัลตัน
1.
การสอนแบบนี้สิ้นเปลืองมากเพราะจะมีห้องสมุดและอุปกรณ์การสอนแบบต่างๆ อย่างครบถ้วน
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบดัลตัน
1. ครูผู้สอนวิธีนี้ต้องมีความรู้ความสามารถในการแนะแนวนักเรียนได้อย่างดีด้วย
ที่มา
http://narin2010.igetweb.com/articles/512814/การสอน.html.วิธีการสอนเพื่อการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน. เข้าถึงเมื่อ
17 กรกฎาคม 2558.
http://www.neric-club.com/data.php?page=21&menu_id=76. วิธีสอนแบบดัลตัน
(Dalton Laboratory Plan). เข้าถึงเมื่อ
17 กรกฎาคม 2558.
https://en.wikipedia.org/wiki/Dalton_Plan.
Dalton Plan. เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น